หินปูนคืออะไร ควรขูดหินปูนปีละกี่ครั้ง?
ปัญหาภายในช่องปาก หรือปัญหาสุขภาพฟัน ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบเจอได้ทุกคน เช่น ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกอักเสบ กลิ่นปาก ฟันเหลือง และคราบหินปูน ซึ่งปัญหาภายในช่องปากเหล่านี้ ส่งผลต่อความมั่นใจ และภาพลักษณ์ในแต่ละบุคคล อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสัญญาณของการเกิดโรคอันตรายได้อีกด้วย
หินปูน คือ คราบพลัคที่สะสมอยู่บริเวณผิวฟันจนกลายเป็นคราบสีขาวอมเหลือง มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ที่ทำปฏิกิริยากับเศษอาหารที่มีการตกค้างบริเวณซอกฟันในขณะรับประทานอาหาร หากไม่มีการทำความสะอาดช่องปากอย่างดีพอเชื้อแบคทีเรียจะมีการเจริญเติบโตและการผลิตกรดที่มีฤทธิ์ในการทำลายผิวเคลือบฟัน เพื่อสร้างหินปูนขึ้นมาแทนที่ ทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเกาะติดเป็นแผ่นจุลินทรีย์บริเวณผิวฟันได้อย่างมั่นคง ซึ่งวิธีการกำจัดคราบหินปูนไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ต้องมีการเข้ารับบริการตรวจฟันกับทันตแพทย์ เพื่อใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการกำจัดคราบหินปูนให้หมดไป หลายคนอาจกำลังตั้งคำถามว่า ขูดหินปูนควรขูดปีละกี่ครั้ง ควรขูดหินปูนตอนไหนบ้าง แล้วสามารถขูดหินปูนทุกเดือนได้ไหม บทความนี้มีคำตอบ
ปัญหาและความเสี่ยง ที่เกิดจากการสะสมของหินปูน
หินปูนหรือคราบหินปูนเป็นอาการที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการทำความสะอาดช่องปากอย่างไม่เหมาะสม ไม่ทั่วถึงและไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากหลายท่านไม่ทราบว่าควรขูดหินปูนปีละกี่ครั้งหรือควรขูดหินปูนตอนไหนเมื่อปล่อยเอาไว้เป็นระยะเวลานานคราบหินปูนจากแบคทีเรียจะเกิดการแข็งตัวสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ดังนี้
- การเกิดโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ
- การสะสมของหินปูนเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ
- แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในคราบหินปูน จะคอยสร้างสารพิษเพื่อทำลายเหงือกส่งผลให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ บวม แดง และเลือดออก
- โรคเหงือกอักเสบหากไม่มีการตรวจฟัน และรับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีการลุกลามจนทำลายเนื้อเยื่อรอบฟัน และกระดูกเบ้าฟัน จนฟันโยก หรือฟันหลุด
- การเกิดโรคฟันผุ
- โรคฟันผุ เกิดจากแบคทีเรียในหินปูนทำการผลิตกรดในการกัดกร่อนผิวเคลือบฟั จนทำให้เกิดฟันผุ
- โรคฟันผุ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดการลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน และต้องทำการรักษารากฟันเพิ่มเติม
- การเกิดกลิ่นปาก
- การสะสมของหินปูน ที่เกาะบริเวณซอกฟันในจำนวนมาก เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก
- กลิ่นปาก เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และความมั่นใจ ในการสนทนากับฝ่ายตรงข้าม
- การเกิดโรคเหงือกร่น
- การสะสมของหินปูนบริเวณซอกฟันจำนวนมาก หินปูนจะค่อย ๆ ขยายพื้นที่เป็นวงกว้าง ดันเหงือกให้ร่นลงจากปกติ
- อาการเหงือกร่น คือ การที่เนื้อฟันโผล่ขึ้นมาจากเหงือกมากกว่าปกติ ในคนไข้บางรายอาจเห็นไปถึงรากฟัน ส่งผลให้ฟันมีความไวต่ออุณหภูมิ
การขูดหินปูนสามารถทำได้ทุกคนหรือไม่ ควรขูดหินปูนปีละกี่ครั้งจึงจะเหมาะสม?
การขูดหินปูน คือ วิธีการทางทันตกรรมที่ใช้ในการกำจัดคราบหินปูน เศษอาหารและแบคทีเรียที่เกาะติดอยู่บริเวณซอกฟัน ไปจนถึงใต้เหงือก หากมีการสะสมของหินปูนในจำนวนมาก จะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพทางร่างกายได้ แล้วสำหรับคนปกติ การขูดหินปูนควรขูดปีละกี่ครั้ง คำตอบคือ โดยปกติแล้วคนเราจึงต้องมีการพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและขูดหินปูนทุก ๆ 6 – 12 เดือน
ถึงแม้ว่าการเข้าพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและสุขภาพช่องปาก รวมถึงการขูดหินปูนเป็นประจำทุก ๆ 6 – 12 เดือน จะเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติตามแต่สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด การขูดหินปูนอาจเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบ และเกิดอันตรายต่อตัวคนไข้ได้ เนื่องจากการขูดหินปูนเป็นวิธีการทางทันตกรรฃที่ทำให้เกิดเลือดออกบริเวณเหงือก โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมของหินปูนจำนวนมากจนเกิดอาการเหงือกอักเสบ จึงต้องมีการปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ และทันตแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูล รวมถึงการขอคำอนุมัติสำหรับการขูดหินปูน โดยผู้ป่วยที่ควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อนการขูดหินปูน มีดังนี้
- กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มของโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ โดยอาการของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอันตรายของการขูดหินปูน คือ อาการแผลเรื้อรังหรือแผลหายช้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการต่อสู้กับแบคทีเรียของระบบภูมิคุ้มกัน
- กลุ่มผู้ป่วยโรคเลือด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเลือด เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุดหรือโรคฮีโมฟิเลีย โรคโลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งรายชื่อโรคเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด โดยทั่วไปแล้วอาการของโรคจะมีลักษณะ คือ อ่อนเพลีย เลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวช้า และอาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยโรคเลือด ควรขูดหินปูนตอนไหนนั้น ต้องมีการปรึกษาแพทย์และทันตแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยง เช่น การตรวจความแข็งตัวของเลือด และการเพิ่มความระมัดระวังในการขูดหินปูน
- กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ
กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อหัวใจโตและโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเหล่านี้เป็นโรคมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดหรือการสูบฉีดเลือด ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจมีการทานยาละลายลิ่มเลือด จะส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลช้า จึงต้องมีการปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อขอใบรับรองในการเข้ารับการขูดหินปูน
- กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยหอบ และเลือดกำเดาไหล สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ จะต้องทำการตรวจวัดความดันก่อนเข้ารับการรักษากับทันตแพทย์โดยระดับของความดันไม่ควรเกิน 160/100 mmHg และอาจมีการทานยาคลายกังวลร่วมด้วยเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนการรักษา
- กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวาย
กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวาย คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวของเลือดทำให้เลือดหยุดไหลช้า ผู้ป่วยโรคไตควรขูดหินปูนตอนไหนคำตอบ คือ ควรเว้นระยะในการขูดหินปูน 4 ชั่วโมง – 1 วัน หลังจากการฟอกเลือดและควรมีการปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ร่วมด้วยในการประเมินอาการในแต่ละบุคคล และป้องกันการเกิดอันตรายระหว่างขูดหินปูน
การเลือกใช้บริการขูดหินปูนกับ AT U Dental ดียังไง?
จากบทความข้างต้น ได้มีการกล่าวถึงลักษณะของหินปูน สาเหตุของการเกิดหินปูน อันตรายของหินปูน และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่ควรมีการเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ก่อนการขูดหินปูน นอกจากนี้สำหรับคำถามที่ว่า ควรขูดหินปูนปีละกี่ครั้ง, ขูดหินปูนควรขูดปีละกี่ครั้ง, ควรขูดหินปูนตอนไหน, ขูดหินปูนทุกเดือนได้ไหม สามารถสรุปได้ว่า คนทั่วไปควรเข้ารับการตรวจฟันและขูดหินปูนทุก ๆ 6 – 12 เดือน ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจฟันและขูดหินปูนทุก ๆ 1 ปี
ที่ AT U Dental มีการให้บริการทางด้านทันตกรรมไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพช่องปาก ขูดหินปูน อุดฟัน และถอนฟัน ดำเนินการโดยทันตแพทย์มากประสบการณ์ ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องมือครบครัน โดยเรามีรูปแบบการให้บริการทันตกรรมที่หลากหลาย ทั้งคลินิกทันตกรรมแนททิส ที่ทุกท่านสามารถเดินทางเข้ามาใช้บริการได้ด้วยตนเอง รวมถึงรถทันตกรรมเคลื่อนที่ ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมเดินทางเข้าไปให้บริการทางทันตกรรมแก่ทุกท่านถึงที่ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือก และอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยตนเอง ให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงสิทธิด้านทันตกรรมพื้นฐานกันอย่างทั่วถึง เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดี สร้างความมั่นใจในทุกสถานการณ์